ข้อสอบปลายภาค
กิจกรรมที่ 9
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)
1. ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
1. ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและถือได้ว่าเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายต่างๆ รัฐธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องรูปแบบการปกครองประมุขของประเทศอำนาจอธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
พระราชบัญญัติ คือ บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ
พระราชกำหนด คือกฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี)พระราชกำหนดเป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายที่ฝ่ายบริหารนั้นคือพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีตราขึ้นโดยอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
พระราชกฤษฎีกาคือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
เทศบัญญัติ คือ กฎหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นนั้น ๆและจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น ๆ
2. กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบรัฐธรรมนูญในปัจุบันมีทั้งเป็นลักษณ์ลยลักษณ์อักษรเเละไม่เป็นลายลักณ์อักษรโดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีตประเพณีการปกครองเเล้วกฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครองย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วยเเละดิฉันคิดว่าหากไม่มีกฎหมายที่เป็นกฎหมายสูงสุดดังนั้นประเทศจะขาดรูปแบบการปกครองที่สมบูรณ์เเละขาดอำนาจอธิปไตยของทุกคนในประเทศที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิต ประชาชนขาดเสรีภาพ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายเเม่บทของกฎหมายต่างๆ
3. ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ไข ในเมื่อกฎหมายปัจจุบันให้ “ความคุ้มครอง” กับ 3 สถาบันหลักอย่าง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดังนั้นจึงไม่ควรให้มีการยกเลิกหรือแก้ไข ’เฉพาะ“ สถาบันพระมหากษัตริย์”
4. กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ ดิฉันคิดว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ควรแก้ไขอย่างยิ่ง หากยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจน อาจทำให้ปัญหานี้บานปลายได้และยากต่อการแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาระหว่างประเทศ และอยากที่ประเทศอื่นจะเข้ามาเจรจาได้ และดิฉันคิดว่า ควรจะมีวิธีการแก้ไขนี้ คือ การเจรจาที่ดีของทั้งสองประเทศหรือการทำสนธิสนธิสัญญาด้วยกันในผลประโยชน์จากชายแดน
5. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
5. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ เห็นด้วย เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาคือกฎหมายอย่างหนึ่งในการศึกษาที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาต้องมีส่วนร่วมและปฏิบัติตามกฎการศึกษาอย่างเคร่งครัดและถือเป็นวินัยในการทำงาน ดังนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาจึงเปรียบได้เสมือนสิ่งที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการศึกษา ซึ่งรัฐธรรมนูญก็คือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
6. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความ สนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก คือการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
คณาจารย์ คือ บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
ผู้สอน คือ บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา คือ บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา คือ บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ครอบครัวชุมชน ชาติและสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(๔) ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(๕) ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
8. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ หากผิดกฎหมายจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในขณะเดียวกันหกไม่ให้เป็นกรผิดกฎหมายบุคลนั้นจะต้องดำเนินการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้และจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ
1. จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
2. ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
3. จะต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี ไม่เป็นเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
4. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
หากบุคลนั้นมีคุณสมบัติข้างต้น ก็สามารถเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครูได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
9. หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ 1.มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งนี้
2. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูการรับเงินเดือน หรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้รับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายการศึกษาในแต่ละด้านโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเรียน นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การจัดการเรียนการสอนในวิชากฎหมายกับการเลือกใช้วัตกรรมการหรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog ถือว่ามีความเข้ากันในด้านเนื้อหาของวิชากฎหมายและการหาความรู้หรือเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่อ ดิฉันประสงค์จะให้คะแนนวิชานี้ 97 คะแนน ดิฉันหวังว่าดิฉันจะได้เกรด A เนื่องจากดิฉันพยามทำบล็อกของตัวเองให้สวยงามและมีเนื้อหาถูกต้อง
ให้นักศึกษาอ่านระเบียบต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อนักศึกษาอ่านระเบียบแล้วให้สรุปประเด็นที่สำคัญ เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร ประกาศใช้เมื่อใด ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบนั้น เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือประเด็นใด โดยสรุปตามหัวข้อระเบียบที่กำหนดไว้ ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ (31 ตัวระเบียบ ลงในบล็อกของนักศึกษา)
1. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา พ.ศ.2 547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยมีนายอดิศัย โพธารามิค เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื้อหาสาระที่ได้ คือ เมื่อมีผู้บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ไม่ว่ารายเดียวหรือหลายรายให้แก่ส่วนราชการหรือสถานศึกษา ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดที่ได้รับผลประโยชน์สำหรับการบริจาคตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่ถึงสิบล้านบาท ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงาน หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่ได้รับบริจาคไม่ถึงห้าล้านบาท ตอบขอบคุณหรืออนุโมทนาและออกประกาศเกียรติคุณ
2. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548
ตอบ กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร ประกาศเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ การประชาสัมพันธ์หรือการให้ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของกระทรวงศึกษาธิการ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ประชาสัมพันธ์หรือให้ข่าวสาร
3. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้าน เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ การจัดตั้งสถานศึกษา
4. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ ผู้กำกับการสอบต้องปฏิบัติตามระเบียบแผนการสอบ โดยต้องไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลา เริ่มสอบตามสมควร กำกับการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใดๆในข้อสอบให้แก่ผู้เข้าสอบ ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนผู้เข้าสอบ รวมทั้งไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับการสอบไม่สมบูรณ์ ต้องแต่งการให้สุภาพเรียบร้อยตามส่วนราชการ หรือสถานศึกษากำหนด หากผู้กำกับการสอบทำการใด ประมาท เลินเล่อ หรือจงใจ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง
5. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ประกาศเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ “การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อการอบรมสั่งสอน
6. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ“เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 น. ของวันทำการ และให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะหรือเป็นอย่างอื่นด้วย
“วันทำการ” หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วย
“วันหยุดราชการ” หมายความว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์
ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุด
พิเศษอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการประจำปี
7. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษาพ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ สถานศึกษาที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือกำหนดชื่อสถานศึกษา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ที่กำหนดไว้ มีสาระสำคัญดังนี้
1. การกำหนดชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ใช้คำว่า “โรงเรียน” เป็นคำขึ้นต้นและต่อท้ายด้วยชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคลผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ หรือสถานที่อื่นใด แล้วแต่กรณี
2. การกำหนดชื่อสถานศึกษา ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ
3. ไม่เป็นชื่อพระนามของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เว้นแต่ได้รับพระราชทาน หรือสมเด็จพระสังฆราชประทานให้ และไม่เป็นชื่อพ้อง หรือ มุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของราชทินนามหรือทายาท
4. ชื่อสถานศึกษาต้องใช้ภาษาไทย
5. ชื่อสถานศึกษาที่กำหนด ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสถานศึกษาอื่น
6. ชื่อสถานศึกษาไม่ควรมีความยาวเกินความจำเป็น
7. หากสถานศึกษาใด มีความประสงค์ที่จะกำหนดชื่อสถานศึกษาโดยใช้ชื่อผู้บริจาคเป็นชื่อสถานศึกษาหรือกรณีอื่น ๆ ต่อท้ายนอกเหนือที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1 ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
8. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549
1. การกำหนดชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ใช้คำว่า “โรงเรียน” เป็นคำขึ้นต้นและต่อท้ายด้วยชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคลผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ หรือสถานที่อื่นใด แล้วแต่กรณี
2. การกำหนดชื่อสถานศึกษา ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ
3. ไม่เป็นชื่อพระนามของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เว้นแต่ได้รับพระราชทาน หรือสมเด็จพระสังฆราชประทานให้ และไม่เป็นชื่อพ้อง หรือ มุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของราชทินนามหรือทายาท
4. ชื่อสถานศึกษาต้องใช้ภาษาไทย
5. ชื่อสถานศึกษาที่กำหนด ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสถานศึกษาอื่น
6. ชื่อสถานศึกษาไม่ควรมีความยาวเกินความจำเป็น
7. หากสถานศึกษาใด มีความประสงค์ที่จะกำหนดชื่อสถานศึกษาโดยใช้ชื่อผู้บริจาคเป็นชื่อสถานศึกษาหรือกรณีอื่น ๆ ต่อท้ายนอกเหนือที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1 ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
8. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา ประกาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบฯ ว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 กำหนดว่า “สถานศึกษา”หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้มีการตั้งชื่อที่เหมาะสมกับการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
9. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตกให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐาน และการแก้ไขตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้ และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
10. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่ การศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ ประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยมีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
11.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ ให้ทำหนังสือขออนุญาตเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ครู นักเรียน (/2 คนขึ้นไป) กิจกรรมการเรียนการสอน ในหรือนอกเวลาสอน(ไม่นับเดินทางไกล+อยู่ค่ายพักแรมฯ)การไปนอกสถานที่ตามคำสั่งในทางราชการการพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน ผู้บริหารสถานศึกษาการพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน ผอ.สพท./ผู้รับมอบหมาย/ผู้มีอำนาจเหนือสถานศึกษา1 ชั้น การพาไปนอกราชอาณาจักร หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้ได้รับมอบหมายการควบคุม ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รับมอบหมาย ครู 1 : นักเรียนไม่เกิน 30 คน ถ้ามีนักเรียนหญิงต้องมีครูหญิง ส่งคำขออนุญาตพร้อมโครงการต่อผู้มีอำนาจอนุญาตก่อน อนุญาต ไป ไปมาแล้วให้รายงานต่อผู้อนุญาตทราบถือว่าไปราชการ เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
12. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
ตอบ ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ ข้าราชการครูต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24 เดือนเต็ม แต่ ไม่น้อยกว่า 12เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจาเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา
13. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ ให้สถานศึกษาต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมสหกรณ์ขึ้นในสถานศึกษาโดยให้มีครูอาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถานศึกษาเป็นสมาชิก ในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา
14. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550
ตอบ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ ประกาศเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยมีนายอุทิศ ธรรมวาทิน เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง เนื้อหาสาระที่ได้ คือ กำหนดหลักการเพิ่มเติมให้ผู้มีอำนาจจัดที่พักของส่วนราชการสามารถใช้ดุลพินิจจัดให้ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก และเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเข้าพักในที่พักของทางราชการได้ โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น กล่าวคือหากส่วนราชการใดจะใช้ดุลพินิจดังกล่าว จะต้องบริหารเงินงบประมาณที่ได้รับให้อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรด้วย
15.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นประกาศเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้าน เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษา
16. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้าน เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
17.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ประกาศเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
18.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนพ.ศ.2551
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน ประกาศเมื่อวันที่22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยมีนายศรีเมือง เจริญศิริเป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาสาระที่ได้ คือ ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษากำหนดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียน
19.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อหาสาระดังนี้ให้สถานศึกษาถือเป็นหน้าที่ ในการที่จะรับเด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ เข้าเรียนในสถานศึกษา กรณีเด็กย้ายที่อยู่ใหม่ สถานศึกษาต้องอำนวยความสะดวก และติดตามให้เด็กได้เข้าเรียน ในสถานศึกษาที่ใกล้กับที่อยู่ใหม่การรับนักเรียนนักศึกษาในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน ให้สถานศึกษา เรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับเพื่อนำมาลง หลักฐานทางการศึกษา ดังต่อไปนี้
1.สูติบัตร
2.กรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
3.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกันในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1หรือ 2ให้เรียกหลักฐานที่ทางราชการออกให้ หรือเอกสารตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ได้
4.ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 2 และ 3ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือองค์กรเอกชนทำบันทึกแจ้งประวัติบุคคล ตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
5.ในกรณีที่ไม่มีบุคคล หรือองค์กรเอกชนตามให้ซักถามประวัติบุคคลผู้มาสมัครเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำลงรายการบันทึกแจ้งประวัติบุคคลตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
20. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิกามีเนื้อหาสาระ
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียน 16 พฤษภาคม ปิด 11 ตุลาคม ในปีเดียวกันภาคเรียนที่ 2 เปิด 1 พฤศจิกายน ปิด 1 เมษายน ในปีถัดไปว่าด้วยการปิดเรียนกรณีพิเศษ คือ ปิดเพราะใช้สถานที่จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดอบรมสัมมนา เข้าค่าย พักแรม หรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือกรณีอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปิดเรียนตามปกติได้ ผู้อำนวยการโรงเรียน สั่งปิดได้ไม่เกิน 7 วัน โดยต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สั่งด้วยวาจาก่อนในกรณีจำเป็นได้ แต่ต้องจัดทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อยภายใน 3 วัน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ฯสั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วันว่าด้วยการปิดเรียนเหตุพิเศษ คือเหตุจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ผอ.ร.ร.สั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน ผอ.สำนักงานเขตฯ สั่งปิดได้ไม่เกิน 30 วัน หากปิดครบแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบจะสั่งปิดต่อไปอีกได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระหว่างปิดนั้น ผอ.ร.ร.จะสั่งให้ครูมาปฏิบัติราชการด้วยก็ได้ ปิดแล้วต้องจัดวันเปิดสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันเปิดเรียนปกติที่ปิดไปด้วย
21. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2555
ตอบ ระเบียบ กระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2536 ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้น ผลสัมฤทธิ์ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ นายปรีดิยาธร เทวกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีเนื้อหา
ตอบ ระเบียบ กระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2536 ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้น ผลสัมฤทธิ์ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ นายปรีดิยาธร เทวกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีเนื้อหา
“เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 น. ของวันทำการ และให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หรือเป็นอย่างอื่นด้วย
“วันทำการ” หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วย
“วันหยุดราชการ” หมายความว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการประจำปี
“การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ” หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ของข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการของข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมง โดยรวมเวลาหยุดพัก
“วันทำการ” หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วย
“วันหยุดราชการ” หมายความว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการประจำปี
“การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ” หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ของข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการของข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมง โดยรวมเวลาหยุดพัก
22. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28กันยายน พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีเนื้อหาสาระดังนี้
การลงทะเบียนนักเรียน ตามปกติต้องลงด้วยปากกาหมึกซึมสีดำ ห้ามการขูดลบเพิ่มเติม ถ้าเขียนผิดพลาดหรือตก จำเป็นต้องแก้ไข ก็ให้ขีดฆ่าด้วยปากกาหมึกซึมสีแดงโดยประณีต แล้วเขียนใหม่ด้วยปากกาหมึกซึมสีแดง การแก้ไขให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไข แล้วลงนาม วัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง กับให้ลงบันทึกแสดงเหตุผลที่แก้ไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันด้วยการลงทะเบียนนักเรียนลงแล้วให้เป็นแล้วไป จะคัดลอกขึ้นหน้าใหม่ไม่ได้นอกจากได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดที่สูงกว่าสถานศึกษาชั้นหนึ่ง สถานศึกษาเอกชนที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการกองทะเบียน ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องได้รับอนุญาตจากศึกษาธิการอำเภอ
23. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ
พ.ศ.2538
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ผู้ลงนามในระเบียบ นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
24. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2) พ.ศ.2547
ตอบ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีเนื้อหาสาระ ดังนี้
คุณสมบัติผู้ลาศึกษาต่อ
1. ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24เดือนเต็ม แต่ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป
2. มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษากรณีอายุเกิน 45 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายทั้งนี้ต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนครบก่อนเกษียณอายุราชการ
3. ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัย ระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์ ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว หรือถ้าเป็น ผู้ถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ข้าราชการที่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ จะสมัครสอบหรือสอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษา หรือฝึกอบรมอื่นใดมิได้
4. มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ตามระเบียบที่สถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนดไว้
5. ข้าราชการที่เคยได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคปกติ หรือศึกษาต่อต่างประเทศแล้วจะศึกษาต่ออีก ต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามที่กำหนดในข้อ 1 กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการซึ่งกลับมาปฏิบัติราชการไม่ครบตามกำหนดไปศึกษาต่ออีก จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป จำนวนผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ต้องไม่เกิน 5% ของจำนวนข้าราชการ ในสถานศึกษา หรือ หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้ รวมทั้งข้าราชการที่กำลังศึกษาต่ออยู่ภายในประเทศและต่างประเทศด้วย เศษถึงครึ่งให้ปัดเป็น 1 คน (ไม่นับฝ่ายบริหาร) และข้าราชการที่เหลืออยู่จะต้องสอนไม่เกินคนละ 22 คาบต่อสัปดาห์ ในหมวดวิชานั้นๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต สถานศึกษาหรือหน่วยงานใด มีข้าราชการจำนวนน้อย และคิดเป็นโควตาไม่ได้ แต่มีผู้สอบ คัดเลือกเพื่อศึกษาต่อได้ ให้ศึกษาต่อได้โรงเรียนหรือหน่วยงานละไม่เกิน 1 คน
25.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือ รับรองความรู้ของสถานศึกษา
พ.ศ.2547
พ.ศ.2547
การออกหนังสือรับรองความรู้ สถานศึกษาจะออกได้เฉพาะในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถออกใบสุทธิให้หรือสำเนาต้นขั้วใบสุทธิให้ได้เท่านั้น ซึ่งอาจมีเหตุจากต้นขั้วใบสุทธิสูญหายหรือไม่ปรากฏหลักฐานการออกใบสุทธิ หรือไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใด เมื่อสถานศึกษาใด พบกรณีดังได้กล่าวมานี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547 ข้อ 6 มีขั้นตอนการปฏิบัติให้สถานศึกษาไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานก่อน กล่าวคือสอบสวนให้ได้ความจริงว่า “บุคคลผู้มาขอหนังสือรับรองความรู้จบการศึกษาในสถานศึกษานั้นจริงหรือไม่” อาจสอบสวนหาพยานหลักฐานเอกสารก่อน หากไม่ปรากฏร่อยรอยจากพยานเอกสารเลยก็จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานจากพยานบุคคล สถานศึกษาต้องไต่สวนจนกระทั่งได้หลักฐานเพียงพอว่าบุคคลนั้นจบการศึกษาจริง แล้วรายงานผลการไต่สวน ให้หน่วยงานต้นสังกัดเหนืออีกชั้นหนึ่งพิจารณาว่าเห็นควรให้ออกหนังสือรับรองความรู้ ให้หรือไม่ หากเห็นว่าหลักฐานเชื่อถือได้ ก็จะอนุญาตให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองความรู้ให้ สถานศึกษา ไม่มีอำนาจพิจารณาเอง
26. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547
ตอบ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มีเนื้อหาสาระดังนี้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนอะจังหวัด ทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันปอเนอะและมีหน้าที่ส่งเสริม กำกับ และสนับสนุนสถานศึกษาปอเนอะที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันสถานศึกษาปอเนอะ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบ ป.น. 2 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม
27. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2) พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สถาบันศึกษาปอเนอะ ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. 2547 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อหาสาระดังนี้
ให้ยกเลิกคำนิยามคำว่า “โต๊ะครู” และ “ผู้ช่วยโต๊ะครู” ในข้อ 3 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“โต๊ะครู” หมายความว่า ผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนและเป็นเจ้าของปอเนาะ
“ผู้ช่วยโต๊ะครู” หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในปอเนาะกรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม
28. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2546 ผู้ลงนามในระเบียบ นายไพฑูรย์ จัยสิน อธิบดีกรมสามัญศึกษา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ มีเนื้อหาสาระดังนี้ การมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมอื่นๆ ของผู้รับมอบอำนาจเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการในระยะเริ่มแรกที่มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา หรือแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ ผู้อำนวยการมอบหมาย หรือมอบอำนาจตามระเบียบนี้
29. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเนื้อหาสาระดังนี้
เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจในการสั่งการ การอนุญาต และการอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีหรือแนวทางที่ใช้เป็นกรอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแล การปฏิบัติราชการตามโครงการและแผนงานของผู้รับผิดชอบ
การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามการมอบอำนาจ ตามงาน โครงการที่กำหนดไว้ในลักษณะภาพรวมเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมอบอำนาจต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อยปีละครั้ง
30. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549 โดยที่ให้เป้นสมควรตามระเบียบการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ นางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเนื้อหาสาระดังนี้สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่ราชการกำหนดให้แก่ให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ ให้ใช้หลักฐานการรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนดและต้องควบคุมใบเสร็จและหลักฐานการเก็บเงินไว้เพื่อตรวจสอบได้ และให้สถานศึกษาเก็บเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่ายในวงเงินที่ทางคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ห้ามมิให้นำเงินรายได้สถานศึกษาไปเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาแห่งอื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำนาจการอนุมัติการจ่ายเงินและการก่อหนี้เงินผูกพันรายได้สถานศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด
31. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา โดยเห็นเป็นการสมควรในการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้เป็นไปในทางเดียวกัน ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเนื้อหาสาระดังนี้ การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือมีการจัดซื้อจากรายได้ของสถานศึกษา ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามสถานศึกษา เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และเก็บรักษาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินไว้ในที่ปลอดภัยไม่ให้สูญหาย ให้สถานศึกษาจัดทำทะเบียนรับและจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาไว้เป็นหลักฐาน การรื้อและจำหน่ายอาคาร สิ่งปลูกสร้าง อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้ที่ราชพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ราชพัสดุที่เกี่ยวข้อง