กิจกรรมที่ 2
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ หมวดที่ 3 สิทธิเเละเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 ความเสมอภาค
ส่วนที่ 3 สิทธิเเละเสรีภาพส่วนบุคคล
ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
ส่วนที่ 5 สิทธในทรัพย์สิน
ส่วนที่ 6 สิทธิเเละเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
ส่วนที่ 7 เสรีภาพในการเเสดงความคิดเห็นของบุคคลเเละสื่อมวลชน
ส่วนที่ 8 สิทธิเเละเสรีภาพในการศึกษา
ส่วนที่ 9 สิทธิในการได้รับบริการสาธารสุขเเละบริการจากรัฐ
ส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารเเละการร้องเรียน
ส่วนที่ 11 เสรีภาพในการชุมนุมเเละสมาคม
ส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน
ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ ตรงกับรัฐธรรมนูญหมวดที่ 3 สิทธิเเละเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 8 สิทธิเเละเสรีภาพในการศึกษาเเละส่วนที่ 6 สิทธิเเละเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ ประเด็นเกี่ยวกับว่าด้วยเรื่องของเเต่ละหมวด เช่น รัฐธรรมนูญหมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องอะไร ประกอบด้วยกี่ส่วน ยกตัวอย่าง
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ เนื่องจากการปกครองของประเทศไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ยกเลิก เเละเเก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะทางประเทศ เเละการเปลี่ยนเเปลงทางการเมือง โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในการร่างรัฐธรรมนูญ
ตอบ เนื่องจากการปกครองของประเทศไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ยกเลิก เเละเเก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะทางประเทศ เเละการเปลี่ยนเเปลงทางการเมือง โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในการร่างรัฐธรรมนูญ
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ หากมีการเเก้ไขรัฐธรรมนูญ การเเก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ของบ้านเมืองเเละความเปลี่ยนเเปลงทางการเมือง โดยให้ประชาชนมีการเเสดงความคิดเห้นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนเเละนำความคิดเห็นเหล่านี้มาเป็นข้อคำนึงพิเศษในการยกร่างเเละพิจารณาเเปรญัตติโดยต่อเนื่่อง
ตอบ หากมีการเเก้ไขรัฐธรรมนูญ การเเก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ของบ้านเมืองเเละความเปลี่ยนเเปลงทางการเมือง โดยให้ประชาชนมีการเเสดงความคิดเห้นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนเเละนำความคิดเห็นเหล่านี้มาเป็นข้อคำนึงพิเศษในการยกร่างเเละพิจารณาเเปรญัตติโดยต่อเนื่่อง
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ การทำงานของระบบรัฐสภา ในฐานะที่เป็นกลไกหนึ่งของระบบการปกครองโดยผู้แทนเสียก่อน โดยอาศัยคำอธิบายตามทฤษฎีระบบความรับผิดชอบทางการเมืองเป็นหลัก
สภาวะและปัญหาระบบรัฐสภาไทยในปัจจุบัน
1) ความสับสนของระบบความรับผิดชอบ ข้อนี้ปรากฏว่าระบบรัฐบาลปัจจุบันมิได้ทำงานให้เป็นไปตามหลักการของระบบรัฐสภาแต่อย่างใด คณะรัฐมนตรีไม่มีความเป็นคณะ การทำงานของสภาต้องชะงักงันเพราะ ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมิได้มีบทบาทมีความหมายสมตามที่ได้กำหนดไว้ เหตุทั้งนี้ก็เพราะความอ่อนแอของระบบผู้แทนเอง ประกอบกับการแทรกซ้อนจากอิทธิพลนอกระบบเป็นสำคัญ
2) ในส่วนพรรคการเมือง ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันได้พยายามสร้างขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายนั้น แม้จะทำให้เกิดวินัยขึ้นบ้างก็ตาม แต่ก็เป็นวินัยที่ไม่มีความหมาย เพราะมิใช่พรรคการเมืองที่ทำหน้าที่เป็นกุญแจของประชาธิปไตยแต่อย่างใด
3) นอกจากผลผิดเพี้ยนในทางปฏิบัติแล้ว ในด้านความคิดก็ได้ผิดเพี้ยนไปด้วยเช่นกัน ทั้งในส่วนความเข้าใจเรื่องระบบการปกครองโดยผู้แทน ระบบการปกครองโดยรัฐธรรมนูญตลอดจนระบบรัฐสภาอยู่ไม่น้อย
3) นอกจากผลผิดเพี้ยนในทางปฏิบัติแล้ว ในด้านความคิดก็ได้ผิดเพี้ยนไปด้วยเช่นกัน ทั้งในส่วนความเข้าใจเรื่องระบบการปกครองโดยผู้แทน ระบบการปกครองโดยรัฐธรรมนูญตลอดจนระบบรัฐสภาอยู่ไม่น้อย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน และวุฒิสภา มีสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 150 คน สำหรับบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นประกอบด้วยบทบาทภายในสภา ซึ่งได้แก่ อำนาจในการตรากฎหมาย อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และอำนาจในการให้ความเห็นชอบ เป็นต้น นอกจากนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังต้องสร้างบทบาทภายนอกสภาผู้แทนราษฎรในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประชาชน และในด้านเวทีต่างประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศอีกด้วย
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ผู้มีอำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติมีด้วยกันทั้งสิ้น 4 ฝ่าย ได้แก่
· คณะรัฐมนตรี
· สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
· ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
· ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อกันเพื่อเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
การเสนอร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี เริ่มตั้งแต่กระบวนจัดทำร่างพระราชบัญญัติจากส่วนราชการ กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้จัดทำ โดยหน่วยราชการอาจใช้ข้าราชการหรือนิติกรภายในหน่วยงานเป็นผู้ร่าง หรืออาจว่าจ้างนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญให้จัดทำโครงการศึกษาวิจัยและมอบหมายให้ผู้วิจัยทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายขึ้นด้วยก็ได้
หรือในบางกรณีฝ่ายการเมืองอาจเป็นผู้ริเริ่มให้มีร่างพระราชบัญญัติใหม่หรือร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขกฎหมายเดิม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ร่างกฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องในทางนโยบายการบริหารประเทศ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว ก็จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางด้านการร่างกฎหมายของรัฐบาลเป็นผู้ตรวจพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาแบ่งแยกออกเป็นกรรมการร่างกฎหมายต่างๆ จำนวน 12 คณะ แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายจำนวนประมาณ 9 คน การประชุมแบ่งออกเป็น 3 วาระ ได้แก่
วาระที่ 1 การพิจารณาหลักการทั่วไปและสาระสำคัญของกฎหมาย
วาระที่ 2 เป็นการตรวจพิจารณารายมาตรา โดยจะเป็นการตรวจพิจารณาทั้งในแง่เนื้อหากฎหมาย (content) แบบของกฎหมาย (format) รวมถึงถ้อยคำที่ใช้
วาระที่ 3 เป็นการตรวจพิจารณาความสมบูรณ์ของร่างพระราชบัญญัติทั้งฉบับ
หรือในบางกรณีฝ่ายการเมืองอาจเป็นผู้ริเริ่มให้มีร่างพระราชบัญญัติใหม่หรือร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขกฎหมายเดิม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ร่างกฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องในทางนโยบายการบริหารประเทศ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว ก็จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางด้านการร่างกฎหมายของรัฐบาลเป็นผู้ตรวจพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาแบ่งแยกออกเป็นกรรมการร่างกฎหมายต่างๆ จำนวน 12 คณะ แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายจำนวนประมาณ 9 คน การประชุมแบ่งออกเป็น 3 วาระ ได้แก่
วาระที่ 1 การพิจารณาหลักการทั่วไปและสาระสำคัญของกฎหมาย
วาระที่ 2 เป็นการตรวจพิจารณารายมาตรา โดยจะเป็นการตรวจพิจารณาทั้งในแง่เนื้อหากฎหมาย (content) แบบของกฎหมาย (format) รวมถึงถ้อยคำที่ใช้
วาระที่ 3 เป็นการตรวจพิจารณาความสมบูรณ์ของร่างพระราชบัญญัติทั้งฉบับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น