วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาค
คำชี้แจง ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่ตั้งไว้ โดยทุกคนในประเทศต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติจะถือว่ามีโทษตามกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ  หมายความว่า  บุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง  หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ  เพศ  หรืออาชีพอะไรก็ปฏิบัติตามกฎหมายอันเดียวกัน
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบเห็นด้วย เนื่องจากการมีใบประกอบวิชาชีพจะเเสดงให้เห็นว่า ทุกคนคือข้าราชการของรัฐที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาเเก่นักเรียนเเละบุุคลทุกวัยตามความเหมาะสม เเละจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์เเละมีกฏหมายบังคับใช้คือกฏหมายการศึกษาหรือพระราชบัญญัติการศึกษาเเห่งชาตินอกเหนือจากกฏหมายทั่วไปที่ใช้ปฏิบัติเเล้ว
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
1. โดยการจัดเก็บภาษีการศึกษาได้ตามความเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดจากผู้ปกครองเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนนอกเหนือจากที่รัฐจัดให้ โดยตามความพร้อมเเละจุดเน้นของท้องถิ่นนั้นๆ
2. การเชิญชวนระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากชุมชนหรือผู้ที่มีความต้องการช่วยเหลือ เช่น การขอรับบริจาคหนังสือ อุปการณ์การเรียนการกีฬา เป็นต้น
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
รูปแบบการจัดการศึกษามี 3 รูปเเบบ คือ
1. การศึกษาในระบบ คือ การจัดการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมายการศึกษา รูปเเบบการศึกษาเเละเวลาในการจัดการศึกษาที่ชัดเจน รวมทั้งตัวหลักสูตรการศึกษาที่จัดขึ้น คือหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
การศึกษาในระบบ มี  2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ
1.             การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป
2.             การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานและให้สามารถคงสภาพอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณ ได้มีความสามารถประกอบอาชีพตามควรแก่วัยและความสามารถ 
3.             การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาที่ต่อจากระดับประถมศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ และความถนัด
การศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามทางสติปัญญาและความคิด เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การศึกษาระดับนี้จัดแบบกว้างให้ผู้เรียนมีความรู้รอบ และเน้นเฉพาะสาขาวิชาชีพให้ผู้เรียนมีความรู้สึกและชำนิชำนาญทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติและมีจรรยา บรรณของวิชาชีพนั้น ๆ
2. การศึกษานอกระบบ คือ เป้นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียนของผู้เรียนโดยไม่จำกัดอายุ หรือฐานะทางสังคม ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความพร้อมเเละความเหมาะสม โดยมีโดครงสร้างหลักสูตรที่ยืดหยุ่น
ประเภทของการจัดการศึกษานอกระบบ
           1. ความรู้พื้นฐานสายสามัญ  
           2. ประเภทความรู้และทักษะอาชีพ 
           3. ประเภทข้อมูลความรู้ทั่วไป
3. การศึกษาตามอัธยาศัย คือ เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตของผู้เรียนหรือเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ การทำงาน หรือเรียนรู้จากบุคคล ครอบครัว สภาพแวดล้อม เป็นการจัดการศึกษาที่ไม่มีหลักสูตรชัดเจน  
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบต่างกัน เนื่องจากในส่วนของระยะเวลาในการเรียนต่างกัน การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งเเต่ เด็กมีอายุย่างเข้าปีที่ 7คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์เเละต้องจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐานเริ่มตั้งเเต่ เด็กมีอายุย่างเข้าปีที่ 7คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์หรือเเล้วเเต่กรณีเเละต้องจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
มีการเเบ่งส่วนราชการเเผ่นดินส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
โดยมีหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
โดยสรุปได้ 4 ประการดังนี้
1. เพื่อกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการให้ชัดเจน
2. เพื่อมิให้การปฏิบัติงานซึ่งซ้อนทับกันระหว่างส่วนราชการของกระทรวง
3.จำเป็นที่จะต้องจัดระบบบริหารราชการในระดับต่างๆของกระทรวงให้มีเอกภาพ สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
4.เพื่อการกำหนดขอบข่ายของอำนาจหน้าที่และการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการในกำกับควบคุมดูและการปฏิบัติราชการของราชการ ซึ่งปฏิบัติในแต่ละระดับให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด ถือว่า ไม่กระทำผิด เนื่องจากหากว่าบุคลนั้นคือบุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546เเละถือว่าไม่กระทำผิด ตามพรบ.นี้เเละจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามพระราชบัญญัตินี้ 
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
คือ กฏหมาย กฏ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ระเบียบวินัยข้าราชการครู มีดังนี้
1. ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม
3. ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น
4. ต้องไม่ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
5. ต้องสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามกฏหมาย ระเบียบของทางราชการ และมติคณะรัฐมนตรีให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความอุตสาหะเอาใจใส่ และระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ
6. ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบของทางราชการ หรือมติคณะรัฐมนตรี อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง (
7. ต้องสนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตราย ต่อประเทศชาติและป้องกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ
8. ต้องรักษาความลับของทางราชการ  การเปิดเผยความลับของทางราช
การอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง
9.ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วย กฏหมายและระเบียบของทางราชการ
การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไปปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบ ด้วยกฏหมายและระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง
10. ต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วคราว
11. ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้อง บอก ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย  การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่าง ร้ายแรง 
12. ต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ
13. ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการไม่ได้
การละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง การละทิ้งหน้าที่ราชการติดกันในคราวเดียวกันเป็นเวลาไม่เกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติกรรมอันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
14. ต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ
15. ต้องสุภาพเรียบร้อย ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้ความสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้มาติดต่อในหน้าที่ราชการ อันเกี่ยวกับหน้าที่ของตน โดยไม่ชักช้า การหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงราษฎร เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
16. ต้องไม่กระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์ อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน 
17. ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะ
งานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท
18.ต้องไม่เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
19. ต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว (มาตรา 81)
20. การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษหนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้โทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
  โทษทางวินัยมี5 สถาน
                                1)  ภาคทัณฑ์                       2)  ตัดเงินเดือน                   3)  ลดขั้นเงินเดือน
                                4)  ปลดออก                         5)  ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
เด็กเร่ร่อน หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรืออาจจะมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ ทำให้เด็กเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆบางครั้งเด็กกลุ่มนี้อาจจะได้รับอันตรายจากภัยมนุษย์ได้ เช่น การถูกให้ขอทาน การถูกทารุนโดยการใช้งาน ส่วนเด็กกำพร้า หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต หรือเด็กที่ไม่ทราบถึงบิดา มารดา ไม่ได้อาศัยกับบิดา มารดาเเต่ก็ยังดำเนินชีวิตได้โดยอาศัยอยู่กับญาติหรือผู้ให้ความอนุเคราะห์ ส่วนเด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
เช่นเด็กที่ช่วยพ่อเเม่ทำงาน หาเงินโดยบางวันอาจไม่ได้ไปโรงเรียน เเละเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมาย เช่นเด็กที่ถูกให้ส่งยาเสพติด หรือเด็กที่ถูกบังคับให้ขอทานหรือเด็กที่ร่วมเป็นขโมย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น